วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

10 กล้องฟิล์ม ที่น่าเก็บสะสมประจำศตวรรษนี้


10.Rolleiflex 2.8 โรไลเฟล็ก 2.8 เป็นกล้องชนิด Twin Lens Reflex ที่สร้างชื่อให้กับโรไล ใช้ฟิล์มมีเดี่ยมฟอร์แมตขนาด 120 มีชื่อเสียงด้านการถ่ายภาพขาวดำ เลนส์ของโรไลมีการไล่เกรย์สเกลได้ดีมาก ได้ภาพขาวดำที่คมชัด เหมาะแก่การติดอันดับมากๆ
ราคาปัจจุบัน มือสอง ประมาณ 3 หมื่นบาท






9.Cosina CX-2 เป็นกล้อง 35มม. ต้นแบบของกล้อง LOMO LC-A ที่โด่งดัง ปัจจุบันหายากในตลาดของมือสอง มีภาพที่เป็นเอกลักษณ์คือมีขอบดำ อุปกรณ์ที่หายากของกล้องนี้คือ มอเตอร์ขึ้นฟิล์ม ปัจจุบันการขายกล้องรุ่นนี้พร้อมมอเตอร์ขึ้นฟิล ์ม อยู่ที่ประมาณหมื่นต้นๆ




.HOLGA N เป็นกล้องวิวไฟน์เดอร์ มีเดียมฟอร์แมตขนาด 120 ผลิตที่ฮ่องกง กล้องรุ่นนี้อยู่ในข่ายของกล้องของเล่น อุปกรณ์ทุกชิ้นทำจากพลาสติก ได้ภาพที่เป็นเอกลักษณ์คือ มีขอบฟุ้งหรือขอบดำ และที่เด่นที่สุด คือจุดบกพร่องของกล้องรุ่นนี้ที่กลายเป็นสิ่งที ่นักถ่ายภาพแนวโลโม่หลงไหลคือ แสงที่รั่วเข้าฝาหลัง เพราะฝาหลังของมันไม่มีฟองน้ำบุ จึงทำให้มีแสงรั่วเข้าได้ แต่สิ่งนี้ส่งผลให้เกิดภาพที่สวยงามโดยไม่ได้ตั ้งใจ ปัจจุบันยังมีการผลิตอยู่ ราคาประมาณ 1500 บาท



7.Yashica 635 เป็นกล้องมีเดีียมฟอร์แมต ชนิด Twin lens reflex จุดเด่นของมันอยู่ตรงที่ เป็นหนึ่งในไม่กี่รุ่นที่มีอแดปเตอร์สำหรับทำให ้ใส่ฟิล์ม 135 ได้ ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ปัจจุบันหายากพอสมควร




6.LOMO LC-A เป็นกล้องที่ได้ต้นแบบมาจาก Cosina CX-2 แต่กลับมีชื่อเสียงมากกว่า เนื่องจากได้ภาพที่มีเอกลักษณ์ และเป็นกล้องที่ได้ชื่อว่า King of LOMO ผู้ที่ถ่ายภาพแนวโลโม่ควรมีไว้ในครอบครอง เพราะเป็นกล้องที่ให้เอกลักษณ์ของความเป็นโลโม่ มากที่สุด คือมีขอบดำ ให้สีที่อิ่มตัว ปัจจุบันไม่มีการผลิตแล้ว แต่ราคาของใหม่ที่ยังคงค้างสต๊อกอยู่ประมาณ 10000 บาท




5.Rollei 35 ถือเป็นราชาของกล้องวิวไฟน์เดอร์ ใช้เลนส์โรไล ให้ภาพที่มีสีสันสดใส และอ่อนหวานตามสไตล์โรไล มีแหล่งผลิตจากสองที่คือสิงค์โปร์และเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศต้นกำเนิด ปัจจุบัน ตัวที่ผลิตในเยอรมันมีราคาสูงมาก



4.Canon AE-1 เป็นกล้อง SLR ระบบแมนนวลที่สร้างชื่อเสียงให้กับแคนนอนเป็นอย ่างมาก ปัจจุบันรุ่นนี้ได้เข้าทำเนียบกล้องคลาสสิกไปแล ้ว ที่สำคัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเคยใช้กล้องรุ่ นนี้ และได้ปรากฏอยู่ในภาพที่พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมร าษฎร ณ ถิ่นทุรกันดารหลายๆภาพ จนเป็นที่คุ้นตา



3.Nikon FM2 กล้องรุ่นนี้ถือเป็นกล้องฝาแฝดที่สูสีกันมากับ Canon AE-1 ซึ่งทั้งสองรุ่นได้กลายเป็นรุ่นคลาสสิกและหายาก ปัจจุบัน FM2 มีราคาสูงกว่ากล้องรุ่นใหม่หลายรุ่นทีเดียว อีกทั้งกล้องรุ่นนี้ยังเหมาะกับการใช้ฝึกถ่ายหร ือสำหรับการเรียนถ่ายภาพเป็นอย่างมาก เพราะเป็นระบบแมนนวล ต้องใช้ฝีมือของผู้ถ่ายเป็นอย่างมาก ปัจจุบันราคามือสองอยู่ที่ 8000-15000 ขึ้นอยู่กับเลนส์


2.Hasselblad 500CM เชื่อว่ากล้องรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่ผู้อ่าน คงจะไม่คุ้นหูมากที่สุด เพราะกล้องรุ่นนี้มีการใช้กันในระดับของการถ่าย แฟชั่น หรือถ่ายภาพทิวทัศน์ ลงแมกกาซีนหรือสิ่งพิมพ์ที่ต้องการภาพที่มีคุณภ าพสูง กล้องรุ่นนี้ผลิตในเยอรมัน เป็นกล้องระบบ SLR ชนิดมีเดียมฟอร์แมต 120 สามารถเปลี่ยนแมกกาซีนใส่ฟิล์มเป็นขนาดต่างๆหรื อใส่ฟิล์มโพลารอยด์เพื่อถ่ายเทสต์แสง ปัจจุบันราคาของมันพร้อมเลนส์ อยู่ในหลักแสนเท่านั้น


1.Leica M6 มาถึงอันดับ 1 ของการจัดอันดับ คงจะเป็นรุ่นไหนไปไม่ได้นอกจากรุ่นนี้ Leica M6 เป็นกล้องระบบ Range Finder ผลิตที่ประเทศเยอรมัน เ้ชื่อว่าคนที่อยู่ในวงการถ่ายภาพคงจะไม่มีใครไ ม่รู้จัก หรือแม้พระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ก็ยังทรงใช้กล้องรุ่นนี้ ผมเคยอ่านเจอว่า บริษัทไลก้าได้ผลิตกล้องรุ่นเฉพาะของพระองค์เอง ถวาย ผมคิดว่าบริษัทไลก้าคงได้เห็นพระปรีชาสามารถของ ท่านในด้านการถ่ายภาพ สิ่งที่สร้างชื่อให้กับกล้องยี่ห้อนี้คือเลนส์ เลนส์ของไลก้าเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพและราคาสูงมา ก จนขนาดที่บางคนบอกว่า หากซื้อเลนส์ของไลก้าบางรุ่น มูลค่าของเลนส์สามารถนำไปซื้อบอดี้ของกล้องได้ถ ึง 2 ตัวเลยทีเดียว เหตุที่ราคาสูงเพราะชิ้นเลนส์ของไลก้าผลิตที่ปร ะเทศเยอรมันซึ่งมีทรายที่ได้ชื่อว่าเป็นทรายที่ ดีที่สุดในโลก ซึ่งทางไลก้าได้ใช้ทรายนั้นในการผลิตเลนส์ อีกทั้งเลนส์ของไลก้ายังมีการหมักเลนส์เพื่อให้ เลนส์คงสภาพอยู่หลายๆปี กว่าจะนำออกมาขาย เพื่อให้ได้เลนส์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ ปัจจุบันกล้องรุ่นนี้ถูกจัดให้อยู่ในหนึ่งในกล้ องตัวสำคัญของโลก เป็นหนึ่งในการพัฒนาไปอีกระดับของกล้องในยุคหนึ ่ง ราคาของบอดี้ไลก้ามีตั้งแต่ หลักหมื่นบาท ส่วนเลนส์นั้น มีหลายระยะใ้ห้เลือกใช้ ซึ่งมีราคาอยู่หลักหมื่นถึงหลักแสน ถึงจะเป็นราคาที่แพง แต่หากได้เห็นภาพที่ถ่ายจากไลก้าแล้ว คงจะคิดว่า ราคาที่จ่ายไปนั้น คุ้มค่ากับผลงานที่ได้ออกมาเป็นอย่างยิ่ง




ที่มา; จำเวปไม่ได้ ขอโทษคุณคนเขียนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: